วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

MSN Chat


MSN Messenger คือ instant messaging client ที่ถูกสร้างขึ้นโดยบริษัท ไมโครซอฟ โดยสามารถใช้ได้ร่วมกับระบบปฎิบัตการ วินโวส์ ทั้ง XP, vista, 7, server 2003, server 2008และ windows mobile. ซึ่งก่อนหน้านี้จะรู้จักกันในชื่อของ "เอ็มเอสเอ็นเมสเซนเจอร์" (MSN Messenger) และยังเป็นที่นิยมอย่างสูงในประเทศไทย ผู้ใช้มักยังเรียกสั้น ๆ ว่า "เอ็มเอสเอ็น"หรือ"เอ็ม" ตามชื่อเก่า วินโดวส์ไลฟ์เมสเซนเจอร์ เป็นส่วนหนึ่งของชุดบริการออนไลน์วินโดวส์ไลฟ์

โดย โปรแกรม MSN ที่ว่านี่ มี ฟังก์ชันหลายอย่าง อย่างเช่น Sharing folders ที่สามารถ แชร์ ข้อมูลหรือ file ที่ต้องการให้กับ บุคคลที่ต้องการโดยการ สร้าง folder ขึ้นมา, PC-to-phone calls โดยใน windows live call นั่นเอง สามารถ โทรหา phone call ได้, Offline messaging, Games and applications, และ S60 Platform ที่สามารถเล่นได้ในพวก มือถือระบบปฎิบัติการ ซิมเบียน60 อย่างเช่นใน มือถือ nokia เป็นต้น

นอกจาก MSN แล้วยังมี Yahoo chat Gmail talk อีกด้วย


วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

Webboard


 
Webboard

          WEB Board คือระบบที่ใช้สำหรับการแลกเปลี่ยนบทสนทนา การพูดคุย การอภิปราย แบ่งปัน และเผยแพร่ความรู้ ในสังคมออนไลน์
ผู้ใช้งาน : เราสามารถจำแนกผู้เข้าใช้งานกระดานข่าวสารได้เป็น 4 ส่วนตามลักษณะสิทธิของการเข้าถึง คือ
1. ผู้ดูแลระบบสูงสุด : ผู้ที่มีอภิสิทธิ์เหนือกว่าทุกคนและมีสิทธิพิเศษที่ผู้อื่นไม่มี คือ การลบผู้ใช้งานที่อยู่ระดับต่ำกว่าตนเอง เป็นต้น
2. ผู้ดูแลระบบทั่วไป : ผู้ที่เข้าไปจัดการกับกระทู้ต่างๆให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยเช่น การย้ายกระทู้ไปในหมวดที่ถูกต้อง ลบกระทู้เก่าๆ เป็นต้น
3. ผู้ใช้ที่เข้าระบบโดยการกรอกชื่อและรหัสผ่าน : ผู้ใช้งานที่มีสิทธิบางอย่างเหนือกว่ามากกว่าผู้ไม่ประสงค์ออกนาม ได้แก่ การแก้ไขคำตอบกระทู้ และการลบกระทู้ของตัวเอง เป็นต้น
4. ผู้ใช้ที่ไม่ประสงค์ออกนาม : ผู้ที่ไม่ได้เข้าระบบโดยการกรอกชื่อและรหัสผ่าน จะไม่ได้รับสิทธิบางประการ เช่น การแก้ไขตอบกระทู้ ลบกระทู้ของตัวเอง เป็นต้น
เมื่อมีผู้ใช้ที่ไม่ประสงค์ออกนาม ก่อกวนกระทู้ หรือปั่นกระทู้ ผู้ดูแลระบบก็สามารถระงับการก่อกวนกระทู้ได้
WEB Board สำเร็จรูป เป็นระบบจัดการเนื้อหาเว็บ ที่สามารถนำมาสร้าง WEB Board ได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรมเพื่อสร้าง WEB Board ของตนเอง นอกจากนี้ยังมีฟังก์ชั่นพิเศษต่างๆมากมาย เช่น สามารถเปลี่ยนหน้าตา รูปแบบที่เรียกว่า Theme ได้เป็นต้น
WEB Board สำเร็จรูป ส่วนใหญ่สามารถดาวน์โหลด และติดตั้งได้ทันทีโดยผู้ใช้ ซึ่งเป็น Open Source ที่ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ผู้ที่สนใจนำมาพัฒนาต่อยอด สามารถปรับแก้ เป็นของตนเอง ติดตั้งไว้ใช้เป็น WEB Board ส่วนตัว หรือเผยแพร่ให้คนอื่นมาใช้งานได้
เว็บบอร์ดไทยได้แก่
·       www.pantip.com
·       www.mthai.com
·       www.dek-d.com
·       www.yimsiam.com






Youtube





Youtube

        เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการแลกเปลี่ยนภาพวิดีโอระหว่างผู้ใช้ ได้ฟรี โดยนำเทคโนโลยีของ Adobe Flash มาใช้ในการแสดงภาพวิดีโอ ซึ่งยูทูบมีนโนบายไม่ให้อัปโหลดคลิปที่มีภาพโป๊เปลือยและคลิปที่มีลิขสิทธิ์ นอกเสียจากเจ้าของลิขสิทธิ์ได้อัปโหลดเอง
เมื่อสมัครสมาชิกแล้วผู้ ใช้จะสามารถใส่ภาพวิดีโอเข้าไป แบ่งปันภาพวิดีโอให้คนอื่นดูด้วย  แต่หากไม่ได้สมัครสมาชิกก็สามารถเข้าไปเปิดดูภาพวิดีโอที่ผู้ใช้คนอื่น ๆ ใส่ไว้ใน Youtube ได้ แม้จะก่อตั้งได้เพียงไม่นาน (youtube ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2005) Youtube เติบโตอย่างรวดเร็วมาก เป็นที่รู้จักันแพร่หลายและได้รับความนิยมทั่วโลก ต่อมาปี ค.ศ.2006 กูเกิ้ลซื้อยูทูบ ตอนนี้ยูทูบจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของกูเกิ้ลแล้ว


Social Networks


Social Networks 


         Social Network คือสังคมที่อยู่บนการติดต่อสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ต อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Virtual Community โดยสมาชิกในกลุ่มไม่จำเป็นต้องมีความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้น แต่มีหัวข้อความสนใจร่วมกัน มีบทสนทนาที่แสดงถึงแนวทางความคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งร่วมกัน ตัวอย่างเช่น กระทู้ตามเว็บบอร์ดต่างๆ นั่นถือเป็น Community ที่สมาชิกอาจไม่รู้จักกันจริงๆ อยู่ในสถานะของคนแปลกหน้าต่อกันโดย Turnover ของการเป็นสมาชิก อาจจะอยู่ในระดับสูง

10 อันดับ Social Network ที่ได้รับความนิยมในขณะนี้ ได้แก่


__________________________
 

วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

ความรู้เกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต

อินเตอร์เน็ต(Internet) คือ กลุ่มของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีการเชื่อมโยงติดต่อเข้าด้วยกันภายใต้มาตรฐานเดียวกัน อินเตอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งเรียนรู้ขนาดใหญ่ ที่รวบรวมความรู้ทุกๆด้านให้ผู้ที่ต้องการค้นคว้าหาข้อมูลเข้าไปค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้ โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปยังห้องสมุดด้วยตนเอง


แผนผังการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต


ประวัติความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต

ความเป็นมาของอินเตอร์เน็ตในต่างประเทศ

- อินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นโครงการของ ARPAnet (Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สังกัด กระทรวงกลาโหม ของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD)

- ค.ศ.1960 (พ.ศ.2503) ARPA ได้ถูกก่อตั้งและได้ถูกพัฒนาเรื่อยมา

- ค.ศ.1969 (พ.ศ.2512) ARPA ได้รับทุนสนันสนุน จากหลายฝ่าย ซึ่งหนึ่งในผู้สนับสนุนก็คือ Edward Kenedy และเปลี่ยนชื่อจาก ARPA เป็น DARPA(Defense Advanced Research Projects Agency) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบายบางอย่าง และในปีค.ศ.1969(พ.ศ.2512)นี้เองที่ได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละชนิด จาก 4 แห่งเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย และมหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีค.ศ.1975(พ.ศ.2518) จึงได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง ซึ่ง DARPA ได้โอนหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง ให้แก่ หน่วยการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ (Defense Communications Agency - ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบัน Internet มีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก, IAB (Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ในInternet, IETF (Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับ Internet ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัคร ทั้งสิ้น

- ค.ศ.1983 (พ.ศ.2526) DARPA ตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal) มาใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ ทำให้เป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่าย Internet จนกระทั่งปัจจุบัน จึงสังเกตุได้ว่า ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่จะต่อ internet ได้จะต้องเพิ่ม TCP/IP ลงไปเสมอ เพราะ TCP/IP คือข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทั่วโลก ทุก platform คุยกันรู้เรื่อง และสื่อสารกันได้อย่างถูกต้อง

- การกำหนดชื่อโดเมน (Domain Name System) มีขึ้นเมื่อ ค.ศ.1986 (พ.ศ.2529) เพื่อสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distribution database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บ www.yonok.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ หรือไม่ ที่ www.thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของเว็บที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมด เป็นต้น- DARPA ได้ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลระบบ internet เรื่อยมาจนถึง

- ค.ศ.1980 (พ.ศ.2533) และให้ มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation - NSF) เข้ามาดูแลแทนร่วม กับอีกหลายหน่วยงาน

ความเป็นมาของอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย

- พ.ศ. 2530 ประเทศไทยได้มีการเชื่อมโยงเครือข่ายเตอร์เน็ตครั้งแรก โดยมีจุดประสงค์เพื่อเชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) เชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์นในออสเตรเลีย แต่ไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร เนื่องจากการส่งข้อมูลล่าช้า

- พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (Nectect) ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมมือกันเช่าสายโทรศัพท์เพื่อต่อพ่วงคอมพิวเตอร์แต่ละสถาบันเข้าด้วยกัน โดยเรียกเครือข่ายสมัยนั้นว่า "เครือข่ายไทยสาร"

- พ.ศ. 2537 เครือข่ายไทยสารเติบโตขึ้นเรื่อยๆ และมีหน่วยงานต่างๆของราชการเข้ามาเชื่อมต่อในเครือข่ายมากขึ้นเรื่อยๆ และต่อมาทางหน่วยงานเอกชนมีความต้องการใช้บริการมากขึ้น การสื่อสารแห่งประเทศไทย จึงได้ร่วมมือกับบริษัทเอกชนเปิดให้บริการอินเตอร์เน็ตแก่บิษัทต่างๆ หรือบุคคลทั่วไปที่สนใจ โดยเรียกบริษัทเอกชนที่ให้บริการทางอินเตอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ว่า ISP (Internet Service Provider)

ในความเป็นจริง ไม่มีใครเป็นเจ้าของ internet และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ต่าง ๆ ผู้ติดสินว่าสิ่งไหนดี มาตรฐานไหนจะได้รับการยอมรับ คือ ผู้ใช้ ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ที่ได้ทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้น และจะใช้ต่อไปหรือไม่เท่านั้น ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain name ก็จะต้องยึดตามนั้นต่อไป เพราะ Internet เป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงระบบพื้นฐาน จึงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก



มาตรฐานการสื่อสารบนอินเตอร์เน็ต

โปรโตคอล (Protocal)

โปรโตคอล คือ ตัวกลางหรือภาษากลางที่ใช้เป็นมาตรฐานในการสื่อสารในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เปรียบเสมือนล่ามที่ใช้แปลภาษาของเครือข่ายต่างๆ ให้สื่อสารเข้าใจกัน เช่น TCP/IP เป็นต้น



ไอพีแอดเดรส (IP Address)

เมื่อเราต้องการสื่อสารกันเราจะต้องรู้จักชื่อ ที่อยู่ของผู้ที่จะติดต่อด้วยในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจะเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องเข้าด้วยกัน ฉะนั้นจึงจะต้องมีการกำหนดชื่อหรือเลขประจำเครื่องที่ไม่ซ้ำกันกับเครื่องอื่นๆ ซึ่งรูปแบบการกำหนดเช่นนี้ เรียกว่า ไอพีแอดเดรส (IP Address) โดยไอพีแอดเดส ในปัจจุบัน จะใช้อยู่ 2 มาตรฐาน คือ IPV4 และ IPV6 ยกตัวอย่าง เช่น ไอพีแอดเดรส มาตรฐาน IPV4 ประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด คั่นด้วย (.) เช่น 61.35.42.11 แทน หมายเลขเครื่อง 1 เครื่องในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สำหรับผู้ที่ควบคุมและจัดสรรหมายเลขไอพีแอดเดรสเพื่อไม่ให้ซ้ำกัน เราเรียกองค์กรนั้นว่า อินเตอร์นิก (InterNIC)



โดเมนเนม (Domain Name)

โดเมนเนม คือ ระบบที่นำอักษรมาใช้แทนไอพีแอดเดรสที่เป็นตัวเลขของเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ยากต่อการจดจำ โดยแต่ละโดเมนจะต้องไม่ซ้ำกันเช่นเดียวกับไอพีแอดเดรส การตั้งชื่อโดเมนนิยมตั้งชื่อให้สะดวกต่อการจดจำ เช่น google.co.th เป็นต้น



ความรู้เกี่ยวกับ Domain

โดเมนเนม ประกอบด้วย ชื่อองค์กร . ส่วนขยายบอกประเภทองค์กร . ส่วนขยายบอกประเทศ เช่น

google.co.th ประกอบด้วย google แทน บริษัท Google . co ย่อมาจาก commercial (องค์กรเอกชน) . th ย่อมาจาก thailand เป็นต้น

อื่นๆ เช่น sisaket.go.th ประกอบด้วย sisaket แทน จังหวัดศรีสะเกษ . go แทน Goverment (ราชการ) . th ประเทศไทย

ตัวอย่างส่วนขยายองค์กร เช่น ac , edu แทน สถาบันทางการศึกษา net แทน องค์กรที่ให้บริการเครือข่ายทั่วไป

ตัวอย่างส่วนขยายประเทศ เช่น th : ไทย , uk : อังกฤษ , jp : ญี่ปุ่น, fr : ฝรั่งเศส , de : เยอรมันนี , ca : แคนาดา เป็นต้น



บริการบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

telnet

• เครื่องมือพื้นฐาน ที่ใช้สำหรับติดต่อกับเครื่อง Server ที่เป็น UNIX หรือ LINUX เพื่อใช้เข้าไปควบคุมการทำงานของเครื่อง หรือใช้อ่าน mail หรือใช้ปรับปรุง homepage หรือใช้เรียกโปรแกรมประมวลผลใด ๆ หรือใช้พัฒนาโปรแกรมและใช้งานในเครื่องนั้น เป็นต้น เพราะระบบ UNIX หรือ LINUX จะยอมให้ผู้ใช้สร้าง application ด้วย Compiler ภาษาต่าง ๆ ได้อย่างอิสระ และเชื่อมต่อกับ Internet ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะ Internet เริ่มต้นมาจากระบบ UNIX นี้เอง



• ประโยชน์อย่างหนึ่งที่ผู้ใช้โปรแกรม Telnet มักคุ้นเคย คือการใช้โปรแกรม PINE ซึ่งมีอยู่ใน Telnet สำหรับรับ-ส่ง mail และมีผู้ใช้อีกมากที่ไม่รู้ตัว ว่าตนเองกำลังใช้งาน UNIX อยู่ ทั้ง ๆ ที่ใช้ PINE ติดต่องานอยู่ทุกวัน เดิมที่ระบบ UNIX ไม่มีโปรแกรม PINE แต่มีนักศึกษาที่มหาวิทยาลัย WASHINGTON University เพราะใช้ง่ายกว่าการใช้คำสั่ง mail ในการรับ-ส่งมาก

• แต่ผู้ใช้ที่ใช้ E-Mail กับเครื่อง UNIX หรือ LINUX ซึ่งใช้ตามมาตรฐาน IMAP มักเป็นกลุ่มนักศึกษาในมหาวิทยาลัย ที่มหาวิทยาลัยได้ให้บริการ E-Mail ซึ่งมีข้อจำกัดบางประการ และหลายมหาวิทยาลัยเช่นกันที่ทำฐานข้อมูล Mail ใน UNIX และให้บริการ Mail ผ่าน browser ได้ ซึ่งเป็นหลักการที่ผู้ให้บริการ mail ฟรีหลายแห่งใช้กันอยู่

• สำหรับโปรแกรม Telnet ผู้ต้องการใช้บริการ ไม่จำเป็นต้องไป download เพราะเครื่องที่ทำการติดตั้ง TCP/IP จะติดตั้งโปรแกรม telnet.exe ไว้ในห้อง c:\windows เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเรียกใช้ได้อยู่แล้ว แต่ปัญหาหนักอยู่ที่วิธีการใช้ เพราะระบบ UNIX เป็นการทำงานใน Text mode เป็นหลัก การจะใช้คำสั่งต่าง ๆ ผู้ใช้จะต้องเรียนรู้มาก่อน จึงจะใช้งานได้ในระดับที่พึ่งตนเองได้ มิเช่นนั้นก็จะเหมือน คนตาบอดเดินอยู่กลางถนน หากใช้คำสั่งไม่ถูกต้อง อาจทำให้เกิดปัญหาทั้งกับตนเอง และระบบได้



Electronic mail




• บริการ E-Mail ฟรี เป็นบริการที่มีผู้ใช้กันมาก เพราะใช้สำหรับส่ง และอ่านข้อความ กับผู้ที่ต้องการติดต่อด้วย และใช้แทนจดหมายได้อย่างดี เพราะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย และผู้รับจะได้รับในเวลาเกือบทันทีที่ส่งไป ผู้ใหับริการ E-Mail ฟรีในปัจจุบัน เช่นของ hotmail หรือ yahoo mail หรือ ตามแต่ละประเทศ ที่คนในประเทศจะทำ Server ให้บริการ สำหรับกลุ่มที่มีความสนใจคล้าย ๆ กัน เช่น thaimail.com หรือ chaiyo.com ซึ่งเป็นของคนไทย และ mail ฟรีเหล่านี้จะให้บริการไปเรื่อย ๆ ไม่มีการหมดอายุ แต่จะหมดอายุถ้าผู้ใช้เกิดเลิกใช้เป็นเวลานานเกินไป สำหรับ E-Mail ของสถาบัน จะหมดอายุแน่นอน หลักจากที่สำเร็จการศึกษา จึงเป็นจุดบกพร่องข้อใหญ่ ที่ทำให้นักศึกษา หันไปใช้ E-Mail ฟรี มากกว่าที่สถาบัน จัดไว้ให้

• การใช้ E-Mail กับผู้ให้บริการฟรี เช่น thaimail.com, lampang.net, thaiall.com หรือ chaiyo.com นั้น ผู้ใช้จะต้องไป download โปรแกรม browser เช่น netscape หรือ Internet Explorer หรือ Opera หรือ NeoPlanet มาไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อ Internet แล้วเปิดหน้าเว็บของแหล่งบริการ เพื่อใช้บริการ E-Mail ดังกล่าว ซึ่งผู้ใช้จะต้องขอใช้บริการ และจะได้รับ userid และ password ประจำตัว เพื่อ login เข้าใช้บริการ E-Mail ทุกครั้ง

• ปัจจุบันการขอใช้บริการ E-Mail สามารถเลือกได้ที่จะใช้ web-based หรือ POP เพราะแต่ละแบบมีจุดเด่น จุดด้อยที่แตกต่างกัน โดย web-based จะเหมาะกับผู้ที่เดินทางเป็นประจำ ส่วน pop จะเหมาะกับผู้มีคอมพิวเตอร์ส่วนตัว

• รายละเอียดเกี่ยวกับ e-mail อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaiall.com/article/mail.htm



USENET news หรือ News group



• ในยุคแรกของ Internet บริการ USENET ได้มีผู้ใช้บริการ อย่างแพร่หลายอย่างมาก เพราะเป็นแหล่งที่ผู้ใช้ จะส่งคำถามเข้าไป และผู้ใช้คนอื่น ๆ ที่พอจะตอบคำถามได้ จะช่วยตอบ ทำให้เกิดสังคม ของการแลกเปลี่ยนข่าวสาร นอกจากการส่งข้อความเข้าไปใน USENET แล้ว ผู้ใช้ยังส่งแฟ้มในรูปแบบใด ๆ เข้าไปก็ได้ ซึ่งเรียกว่า Attach file หากแฟ้มที่ส่งเข้าไปเป็นภาพ gif หรือ jpg หรือแฟ้มที่มีการรองรับในระบบ internet ก็จะเปิดได้ทันทีด้วย browser หรือแล้วแต่โปรแกรมที่ใช้เปิด USENET นั้น

• แต่สำหรับประเทศไทย ผมสังเกตุว่า มีการเข้าไปใช้บริการในส่วนนี้ไม่มาก เพราะกลุ่มข่าว(News group) ที่ชื่อ soc.culture.thai ซึ่งเป็น 1 ในหลายหมื่นกลุ่มข่าว และมีชื่อที่เป็นไทยอย่างชัดเจน กลับมีคนต่างชาติ เข้าไปฝากข้อความไว้กว่าครึ่ง และมีคนไทยเพียงครึ่งเดียว ซึ่งเข้าใจว่าผู้ใช้ Internet ในประเทศไทยมักเน้นการใช้บริการ Internet 3 อย่างนี้ คือ Browser และ PIRC และ ICQ

• อีกเหตุผลหนึ่ง ที่คนไทยไม่ได้เข้าไปใช้บริการ USENET เท่าที่ควรก็เพราะ ในเว็บของคนไทยหลาย ๆ เว็บจะให้บริการที่ชื่อว่า wwwboard ผ่าน browser อยู่แล้ว ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับ USENET อย่างมาก ทำให้คนไทยหันมาใช้ wwwboard แทน USENET ซึ่งต้องติดตั้งข้อกำหนดเพิ่มเติมให้กับ browser ซึ่งอาจรู้สึกยุ่งยาก ไม่รู้ หรือไม่คุ้นเคยก็เป็นได้ และปัจจุบันบริการต่าง ๆ มักจะรวมมาไว้ใน browser อย่างสมบูรณ์ ทำให้ผู้ใช้มากมาย ไม่เห็นความจำเป็นที่ต้องไปใช้โปรแกรมอื่น เพราะทุกวันนี้ก็ใช้บริการที่อยู่ใน browser ไม่หมดแล้ว เช่น web, mail, chat, wwwboard, game, quiz, pager, news, postcard, shopping, download เป็นต้น

• ถ้าเครื่องท่านถูก setup ให้อ่าน news ได้ ท่านสามารถเข้าไปที่ soc.culture.thai เพื่ออ่าน หรือส่งข่าวสารต่าง ๆ ได้


FTP (File Transfer Protocal - บริการโอนย้ายข้อมูล)

• บริการนี้ สามารถใช้ download แฟ้มผ่าน browser ได้เพราะการ download คือ การคัดลอกโปรแกรมจาก server มาไว้ในเครื่องของตน แต่ถ้าจะ upload แฟ้ม ซึ่งหมายถึง การส่งแฟ้มจากเครื่องของตน เข้าไปเก็บใน server เช่นการปรับปรุง homepage ให้ทันสมัย ซึ่ง homepage ของตนถูกจัดเก็บใน server ที่อยู่อีกซีกโลกหนึ่ง จะต้องใช้โปรแกรมอื่น เพื่อส่งแฟ้มเข้าไปใน server เช่นโปรแกรม cuteftp หรือ wsftp หรือ ftp ของ windows

• การ download นั้นไม่ยาก หากผู้ให้บริการยอมให้ใครก็ได้เข้าไป download แฟ้มใน server ของตน และผู้ใช้บริการรู้ว่าแฟ้มที่ต้องการนั้นอยู่ที่ใด แต่การ upload มักไม่ง่าย เพราะต้องใช้โปรแกรมเป็น และมีความเป็นเจ้าของในเนื้อที่ที่จะกระทำ รวมทั้งมี userid และ password เพื่อแสดงสิทธิในการเข้าใช้บริการ การศึกษาการส่งแฟ้มเข้าไปใน server อาจต้องหา บทเรียน ftp มาอ่านเพื่อศึกษาวิธีการส่ง หรือหาอ่านได้จาก เว็บที่ให้บริการ upload แฟ้ม ซึ่งมักเขียนไว้ละเอียดดีอยู่แล้ว



WWW

• World Wide Web คือบริการที่ให้ผู้ใช้ ใช้โปรแกรม Browser เช่น Netscape, Internet Explorer, Opera หรือ Neoplanet เป็นต้น ในการเปิดข้อมูลในลักษณะ Homepage ซึ่งสามารถนำเสนอได้ทั้งภาพ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ทำให้มีการแพร่หลาย และเป็นสื่อที่ได้รับความสนใจ และเติบโตอย่างรวดเร็ว

• บริการผ่านเว็บนี้ ได้รับการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ใช้สามารถติดต่อในลักษณะ Interactive ด้วยโปรแกรมสนับสนุนต่าง ๆ จนทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้หลากหลาย ตัวอย่างเช่น การดูภาพยนต์ผ่านเว็บ, การเล่นเกมส์, การทำข้อสอบ, การส่ง mail, การส่ง pager, การติดต่อซื้อขาย, การส่ง postcard เป็นต้น



Net2Phone

• บริการนี้คือการโทรศัพท์จากคอมพิวเตอร์ไปยังเครื่องรับโทรศัพท์จริง ๆ และได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะมีอัตราค่าโทรศัพท์ที่ถูกกว่า และยังมีบริการ Net2Fax ซึ่งให้บริการ Fax เอกสารจากคอมพิวเตอร์ไปยังเครื่อง Fax จริง ๆ ซึ่งมีอัตราค่าบริการที่ถูกกว่าเช่นกัน

• บริการนี้ผู้ใช้ต้องไป download โปรแกรมมาติดตั้ง และจะต้องจ่ายเงินก่อน ซึ่งเป็นการซื้อเวลาล่วงหน้า เมื่อมีการใช้บริการ จึงจะหักค่าใช้บริการ จากที่ซื้อไว้



ICQ

• บริการนี้เป็น บริการที่เยี่ยมมาก และได้รับความนิยม เพิ่มขึ้นทุกวัน เพราะผู้ที่มีคอมพิวเตอร์เป็นของตนเอง และมีโปรแกรม ICQ อยู่ในเครื่อง จะสามารถติดต่อกับเพื่อน ที่ใช้โปรแกรม ICQ อยู่ได้อย่างสะดวก เพราะเมื่อเปิดเครื่อง โปรแกรมนี้จะแสดงสถานะของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำการตรวจสอบไว้ ว่า Online อยู่หรือไม่ เปรียบเสมือนการมี pager ติดคอมพิวเตอร์ไว้ทีเดียว

• ได้มีผู้พัฒนาโปรแกรมเสริมอีกมากมาย ให้ ICQ สามารถทำงานได้หลายหลายมากขึ้น และยิ่งแพร่กระจายได้เร็ว ในกลุ่มหนุ่มสาว ที่ต้องการเพิ่ม เพราะจะแสดงสถานะของ เครื่องเพื่อน เมื่อเปิดคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถติดต่อได้รวดเร็ว โดยไม่ต้องโทรไปถามบ่อย ๆ ว่าเปิดคอมพิวเตอร์หรือยัง เป็นต้น

• บริการนี้ผู้ใช้ต้องไป download โปรแกรมาติดตั้ง และเป็นโปรแกรมที่ download ได้ฟรี เบอร์ที่ผมใช้อยู่คือ 20449588 มีคนใช้กันเยอะมาก ขนาดผมใช้มาหลายปียังได้เบอร์ 20 ล้านเลยครับ



Game online

• เกมส์กลยุทธหลาย ๆ เกมส์ที่ โปรแกรมจะจำลองสถานการณ์การรบ ทำให้ผู้ใช้สามารถ ต่อสู้กับคอมพิวเตอร์ เสมือนคอมพิวเตอร์คิดเอง และสู้กับเราได้ แต่ก็ยังมีจุดบกพร่องของเกมส์ ที่ไม่สามารถสร้างความมันส์ เหมือนกับการสู้กับคนที่คิด และพูดกับอีกฝ่ายได้ จึงได้มีการสร้างเกมส์ และบริการที่ทำให้ผู้ใช้ ต่อสู้กัน โดยให้ผู้ใช้ติดต่อเข้าไป ในเครื่องบริการ แล้วเสียเงินลงทะเบียน จากนั้นจะสามารถ ขอเข้าไปเล่นเกมส์ กับใครก็ได้ในโลก ที่เสียเงินเช่นกัน และพูดคุยกันผ่านแป้นพิมพ์ เป็นการทำความรู้จักกัน ในขณะเล่นเกมส์ได้อีกด้วย ซึ่งเป็นบริการที่กำลังเติบโต อย่างรวดเร็วอีกบริการหนึ่ง ในโลก Internet



WAP

• Wireless Application Protocal เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้โทรศัพท์ สามารถเปิดเว็บที่ถูกเขียนมาเพื่อโทรศัพท์มือถือโดยเฉพาะได้ เว็บของไทยที่ให้บริการแล้ว เช่น http://wap.wopwap.com/, http://wap.siam2you.com/, http://wap.a-roi.com/, http://wap.mweb.co.th/ เป็นต้น

• โทรศัพท์ที่ออกมาให้บริการแล้ว เช่น Nokia7110, Nokia9110i, EricssonR320, EricssonA2618, Alcatel OneTouch View WAP หรือ 300 family หรือ 500 family หรือ 700 family, MotorolaV8088 เป็นต้น

• เว็บที่มีข้อมูลเรื่อง wap เช่น wapinsight.com, wap-uk.com, waphq.com, wapjag.com, yourwap.com, waptastic.com เป็นต้น

วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554

Search Engine

Search Engine

เสิร์ชเอนจิน (search engine) หรือ โปรแกรมค้นหา คือ โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นหาข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต โดยครอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่ ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าว และอื่น ๆ ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่โปรแกรมหรือผู้ให้บริการแต่ละราย. เสิร์ชเอนจินส่วนใหญ่จะค้นหาข้อมูลจากคำสำคัญ (คีย์เวิร์ด) ที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไป จากนั้นก็จะแสดงรายการผลลัพธ์ที่มันคิดว่าผู้ใช้น่าจะต้องการขึ้นมา ในปัจจุบัน เสิร์ชเอนจินบางตัว เช่น กูเกิล จะบันทึกประวัติการค้นหาและการเลือกผลลัพธ์ของผู้ใช้ไว้ด้วย และจะนำประวัติที่บันทึกไว้นั้น มาช่วยกรองผลลัพธ์ในการค้นหาครั้งต่อ ๆ ไป


ความหมายและประเภทของ Search Engine



การค้นหาข้อมูลบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ถ้าเราเปิดไปทีละหน้าจออาจจะต้องเสียเวลาในการค้นหา และอาจหาข้อมูลที่เราต้องการไม่พบ การที่เราจะค้นหาข้อมูลให้พบอย่างรวดเร็วจะต้องใช้เว็บไซต์สำหรับการค้นหาข้อมูลที่เรียกว่า Search Engine Site ซึ่งจะทำหน้าที่รวบรวมรายชื่อเว็บไซต์ต่างๆ เอาไว้ โดยจัดแยกเป็นหมวดหมู่ ผู้ใช้งานเพียงแต่ทราบหัวข้อที่ต้องการค้นหาแล้วป้อน คำหรือข้อความของหัวข้อนั้นๆ ลงไปในช่องที่กำหนด คลิกปุ่มค้นหา (หรือกดปุ่ม Enter) เท่านั้น รอสักครู่ข้อมูลอย่างย่อ ๆ และรายชื่อเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องจะปรากฏให้เราเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ทันที

Search Engine แต่ละแห่งมีวิธีการและการจัดเก็บฐานข้อมูลที่แตกต่างกันไปตามประเภทของ Search Engine ที่แต่ละเว็บไซต์นำมาใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ดังนั้นการที่จะเข้าไปหาข้อมูลหรือเว็บไซต์ โดยวิธีการ Search นั้น อย่างน้อยจะต้องทราบว่า เว็บไซต์ที่เข้าไปใช้บริการ ใช้วิธีการหรือ ประเภทของ Search Engine อะไร เนื่องจากแต่ละประเภทมีความละเอียดในการจัดเก็บข้อมูลต่างกันไป

ประเภท Search Engine


1. Keyword Index เป็นการค้นหาข้อมูล โดยการค้นจากข้อความในWeb Pageที่ได้ผ่านการสำรวจมาแล้ว จะอ่านข้อความ ข้อมูล อย่างน้อยๆ ก็ประมาณ 200-300 ตัวอักษรแรกของWeb Pageนั้นๆ โดยการอ่านนี้จะหมายรวมไปถึงอ่านข้อความที่อยู่ในโครงสร้างภาษา HTML ซึ่งอยู่ในรูปแบบของข้อความที่อยู่ในคำสั่ง Alt ซึ่งเป็นคำสั่งภายใน TAG คำสั่งของรูปภาพ แต่จะไม่นำคำสั่งของ TAG อื่นๆ ในภาษา HTML และคำสั่งในภาษา JAVA มาใช้ในการค้นหา วิธีการค้นหาของ Search Engine ประเภทนี้จะให้ความสำคัญกับการเรียงลำดับข้อมูลก่อน-หลัง และความถี่ในการนำเสนอข้อมูลนั้น การค้นหาข้อมูล โดยวิธีการเช่นนี้จะมีความรวดเร็วมาก แต่มีความละเอียดในการจัดแยกหมวดหมู่ของข้อมูลค่อนข้างน้อย เนื่องจากไม่ได้คำนึงถึงรายละเอียดของเนื้อหาเท่าที่ควร แต่หากว่าต้องการแนวทางด้านกว้างของข้อมูล และความรวดเร็วในการค้นหา วิธีการนี้ก็ใช้ได้ผลดี

2. Subject Directories การจำแนกหมวดหมู่ข้อมูล Search Engine ประเภทนี้ จะจัดแบ่งโดยการวิเคราะห์เนื้อหา รายละเอียด ของแต่ละWeb Page ว่ามีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร โดยการจัดแบ่งแบบนี้จะใช้แรงงานคนในการพิจารณาWeb Page ซึ่งทำให้การจัดหมวดหมู่ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของคนจัดหมวดหมู่แต่ละคนว่าจะจัดเก็บข้อมูลนั้นๆ อยู่ในเครือข่ายข้อมูลอะไร ดังนั้นฐานข้อมูลของ Search Engine ประเภทนี้จะถูกจัดแบ่งตามเนื้อหาก่อน แล้วจึงนำมาเป็นฐานข้อมูลในการค้นหาต่อไป การค้นหาค่อนข้างจะตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และมีความถูกต้องในการค้นหาสูง เป็นต้นว่า หากเราต้องการหาข้อมูลเกี่ยวกับเว็บไซต์ หรือWeb Pageที่นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ Search Engine ก็จะประมวลผลรายชื่อเว็บไซต์ หรือWeb Pageที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ล้วนๆ มาให้

3. Metasearch Engines จุดเด่นของการค้นหาด้วยวิธีการนี้ คือ สามารถเชื่อมโยงไปยัง Search Engine ประเภทอื่นๆ และยังมีความหลากหลายของข้อมูล แต่การค้นหาด้วยวิธีนี้มีจุดด้อย คือ วิธีการนี้จะไม่ให้ความสำคัญกับขนาดเล็กใหญ่ของตัวอักษร และมักจะผ่านเลยคำประเภท Natural Language (ภาษาพูด) ดังนั้น หากจะใช้ Search Engine แบบนี้ละก็ ขอให้ตระหนักถึงข้อบกพร่องเหล่านี้ด้วย

การทำงานของ Search Engine ประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลัก ๆ คือ

1. Spider หรือ Web Robot จะเป็นตัวที่ทำหน้าที่เข้าสำรวจเว็บไซต์ต่างๆ แล้วดึงข้อมูลเหล่านั้นมาอัพเดทใส่ในรายการฐานข้อมูล ส่วนมาก Spider มักจะเข้าไปอัพเดทข้อมูลเป็นรายเดือน

2. ฐานข้อมูล (Database) เป็นส่วนที่เก็บรายการเว็บไซต์ ฐานข้อมูลที่ดีควรจะมีขนาดใหญ่เพียงพอที่จะรองรับกับการเติบโตของเว็บไซต์ในปัจจุบัน การออกแบบฐานข้อมูลที่ดีก็เป็นส่วนสำคัญเพราะถ้าฐานข้อมูลออกแบบมาทำงานช้าก็ทำให้การรอผลนานและจะไม่ได้รับความนิยมไปในที่สุด

3. โปรแกรม Search Engine มีหน้าที่รับคำหรือข้อความที่ผู้ใช้งานป้อนเข้ามา แล้วเข้าค้นหาตามเว็บไซต์ต่างๆ ที่จัดเก็บไว้ในฐานข้อมูล จากนั้นก็จะรายงานผลเว็บไซต์ที่ค้นพบให้กับผู้ใช้ การสืบค้นด้วยวิธีนี้นอกจากจะต้องมีระบบการสืบค้นข้อมูลที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพแล้ว การกลั่นกรองผลที่ได้ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญของการสืบค้นข้อมูล


Search Engine ไทยและต่างประเทศ

Sanook http://www.sanook.com/



Kapook http://www.kapook.com/


Mthai http://www.mthai.com/


Pantip http://www.pantip.com/

(ของไทย)


Google http://www.google.com/
Yahoo http://www.yahoo.com/

Bring http://www.bring.com/

AOL http://www.aol.com/

Amazon http://www.amazon.com/

Baitu http://www.baitu.com/ (ของจีน)

Mahasan http://www.mahasan.com/ (ของลาว)

(ของต่างประเทศ)

วันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2553

พรบ.คอมพิวเตอร์



พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมาย ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้


มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐”



มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป



มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ “ระบบคอมพิวเตอร์” หมายความว่า อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ

“ข้อมูลคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย

“ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลาชนิดของบริการ หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้น

“ผู้ให้บริการ” หมายความว่า

(๑) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น

(๒) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น

“ผู้ใช้บริการ” หมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม

“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้



มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวง เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้



หมวด ๑

ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์



มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้น มิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ



มาตรา ๖ ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบ ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ



มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ



มาตรา ๘ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ



มาตรา ๙ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ



มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ



มาตรา ๑๑ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท



มาตรา ๑๒ ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐

(๑) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือในภายหลัง และไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท

(๒) เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท

ถ้าการกระทำความผิดตาม (๒) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี



มาตรา ๑๓ ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ หรือมาตรา ๑๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ



มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

(๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน

(๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน

(๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา

(๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้

(๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑)(๒) (๓) หรือ (๔)



มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๔



มาตรา ๑๖ ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือ

ปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำไม่มีความผิด ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือ บุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย



มาตรา ๑๗ ผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ

(๑) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้นหรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ

(๒) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหายและผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ

จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร



หมวด ๒

พนักงานเจ้าหน้าที่

มาตรา ๑๘ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๙ เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวนในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ เฉพาะที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดและหาตัวผู้กระทำความผิด

(๑) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้มาเพื่อให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งเอกสาร ข้อมูล หรือหลักฐานอื่นใดที่อยู่ในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้

(๒) เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง

(๓) สั่งให้ผู้ให้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่ต้องเก็บตามมาตรา ๒๖ หรือที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของผู้ให้บริการให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่

(๔) ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ จากระบบคอมพิวเตอร์ที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์นั้นยังมิได้อยู่ในความครอบครองของพนักงานเจ้าหน้าที่

(๕) สั่งให้บุคคลซึ่งครอบครองหรือควบคุมข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ ส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่

(๖) ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด อันเป็นหลักฐานหรืออาจใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือเพื่อสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดและสั่งให้บุคคลนั้นส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็นให้ด้วยก็ได้

(๗) ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด หรือสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ ทำการถอดรหัสลับ หรือให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการถอดรหัสลับดังกล่าว

(๘) ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จำเป็นเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการทราบรายละเอียดแห่งความผิดและผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้



มาตรา ๑๙ การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ

(๘) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามคำร้อง ทั้งนี้ คำร้องต้องระบุเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลใดกระทำหรือกำลังจะกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เหตุที่ต้องใช้อำนาจ ลักษณะของการกระทำความผิด รายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำความผิดและผู้กระทำความผิด เท่าที่สามารถจะระบุได้ ประกอบคำร้องด้วยในการพิจารณาคำร้องให้ศาลพิจารณาคำร้องดังกล่าวโดยเร็วเมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ก่อนดำเนินการตามคำสั่งของศาล ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งสำเนาบันทึกเหตุอันควรเชื่อที่ทำให้ต้องใช้อำนาจตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) มอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐาน แต่ถ้าไม่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครองเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ ณ ที่นั้น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งมอบสำเนาบันทึกนั้นให้แก่เจ้าของหรือ

ผู้ครอบครองดังกล่าวในทันทีที่กระทำได้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เป็นหัวหน้าในการดำเนินการตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ

(๘) ส่งสำเนาบันทึกรายละเอียดการดำเนินการและเหตุผลแห่งการดำเนินการให้ศาลที่มีเขตอำนาจภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาลงมือดำเนินการ เพื่อเป็นหลักฐานการทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตรา ๑๘ (๔) ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ และต้องไม่เป็นอุปสรรคในการดำเนินกิจการของเจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นเกินความจำเป็น การยึดหรืออายัดตามมาตรา ๑๘ (๘) นอกจากจะต้องส่งมอบสำเนาหนังสือแสดงการยึดหรืออายัดมอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐานแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งยึดหรืออายัดไว้เกินสามสิบวันมิได้ ในกรณีจำเป็นที่ต้องยึดหรืออายัดไว้นานกว่านั้น ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอขยายเวลายึดหรืออายัดได้ แต่ศาลจะอนุญาตให้ขยายเวลาครั้งเดียวหรือหลายครั้งรวมกันได้อีกไม่เกินหกสิบวัน เมื่อหมดความจำเป็นที่จะยึดหรืออายัดหรือครบกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องส่งคืนระบบคอมพิวเตอร์ที่ยึดหรือถอนการอายัดโดยพลัน หนังสือแสดงการยึดหรืออายัดตามวรรคห้าให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง



มาตรา ๒๐ ในกรณีที่การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ตามที่กำหนดไว้ในภาคสองลักษณะ ๑ หรือลักษณะ ๑/๑ แห่งประมวลกฎหมายอาญา หรือที่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน พนักงานเจ้าหน้าที่โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีอาจยื่นคำร้อง พร้อมแสดงพยานหลักฐานต่อศาลที่มีเขตอำนาจขอให้มีคำสั่งระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการระงับการทำให้แพร่หลายนั้นเอง หรือสั่งให้ผู้ให้บริการระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นก็ได้



มาตรา ๒๑ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พบว่า ข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดมีชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์รวมอยู่ด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่อาจยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอให้มีคำสั่งห้ามจำหน่ายหรือเผยแพร่ หรือสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นระงับการใช้ ทำลายหรือแก้ไขข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ หรือจะกำหนดเงื่อนไขในการใช้ มีไว้ในครอบครอง หรือเผยแพร่ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ดังกล่าวก็ได้ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ตามวรรคหนึ่งหมายถึงชุดคำสั่งที่มีผลทำให้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์หรือชุดคำสั่งอื่นเกิดความเสียหาย ถูกทำลาย ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมขัดข้อง หรือปฏิบัติงานไม่ตรงตามคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือโดยประการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงทั้งนี้ เว้นแต่เป็นชุดคำสั่งที่มุ่งหมายในการป้องกันหรือแก้ไขชุดคำสั่งดังกล่าวข้างต้น ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา



มาตรา ๒๒ ห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่เปิดเผยหรือส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ให้แก่บุคคลใดความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับการกระทำเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับพนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจหน้าที่

โดยมิชอบ หรือเป็นการกระทำตามคำสั่งหรือที่ได้รับอนุญาตจากศาลพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดฝ่าฝืนวรรคหนึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ



มาตรา ๒๓ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ



มาตรา ๒๔ ผู้ใดล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ และเปิดเผยข้อมูลนั้นต่อผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ



มาตรา ๒๕ ข้อมูล ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้ ให้อ้างและรับฟังเป็นพยานหลักฐานตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการสืบพยานได้ แต่ต้องเป็นชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจมีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือโดยมิชอบประการอื่น



มาตรา ๒๖ ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวัน แต่ไม่เกินหนึ่งปีเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้ ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการ นับตั้งแต่เริ่มใช้บริการและต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง ความในวรรคหนึ่งจะใช้กับผู้ให้บริการประเภทใด อย่างไร และเมื่อใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท



มาตรา ๒๗ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สั่งตามมาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๒๐ หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลตามมาตรา ๒๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาทและปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง



มาตรา ๒๘ การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้และความชำนาญเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ และมีคุณสมบัติตามที่รัฐมนตรีกำหนด



มาตรา ๒๙ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีอำนาจรับคำร้องทุกข์หรือรับคำกล่าวโทษ และมีอำนาจในการสืบสวนสอบสวนเฉพาะความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในการจับ ควบคุม ค้น การทำสำนวนสอบสวนและดำเนินคดีผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ บรรดาที่เป็นอำนาจของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ หรือพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประสานงานกับพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป ให้นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และรัฐมนตรีมีอำนาจ ร่วมกันกำหนดระเบียบเกี่ยวกับแนวทางและวิธีปฏิบัติในการดำเนินการตามวรรคสอง



มาตรา ๓๐ ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อบุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง บัตรประจำตัวของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา



ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์

นายกรัฐมนตรี



หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสำคัญ ของการประกอบกิจการ และการดำรงชีวิตของมนุษย์ หากมีผู้กระทำด้วยประการใด ๆ ให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือทำให้การทำงานผิดพลาดไปจากคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือใช้วิธีการใด ๆ เข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทำลายข้อมูลของบุคคลอื่น ในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ หรือมีลักษณะอันลามกอนาจาร ย่อมก่อให้เกิดความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชน สมควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

ที่มา : http://www.yenta4.com/law/document.php และ http://www.cowboythai.com/forum/index.php?topic=1443.msg9206;topicseen